ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างWeb Browser Web Server และ API Server กับ ความหมายของ API

     เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการแสดงผลการทำงานของเว็บที่สร้างด้วย ภาษาเฉพาะ เช่น HTML CSS หรือ Javascript เป็นต้น ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่ จัดเก็บในเว็บเพจเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ผู้ใช้งานต้องเชื่อมต่อไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อร้องขอ เว็บไซต์มาแสดงผลยังเว็บเบราว์เซอร์ และ การร้องขอเว็บไซต์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์จะติดต่อกันโดยใช้ HTTP โปร- โตคอล ตัวอย่างโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์เช่น Google Chrome, FireFox, Opera, Microsoft Edge เป็นต้น
     เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ คอมพิวเตอร์ที่คอยให้บริการผู้ใช้งาน โดยจะเก็บรวมรวมไฟล์และ คำสั่งต่างๆ ที่มีนามสกุล เช่น .html, .css หรือ .js เป็นต้น ไฟล์ดังกล่าวจะถูกตอบสนองกลับไปแสดงผลที่เว็บ เบราว์เซอร์
     API Server ทำหน้าที่ จัดการควบคุมการใช้งานข้อมูลของผู้ใช้งาน การควบคุมผู้ใช้งานในระดับที่แตก ต่างกัน เช่น ผู้ใช้งานทั่วไป กับ ผู้ใช้งานที่มีสิทธิเป็นผู้ดูแลระบบ มีสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่แตกต่างกัน กรณีที่ใช้ งานระบบร่วมกับผู้อื่น และ เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับข้อมูลที่นำมาใช้งานในส่วนๆ หนึ่งของ เว็บเพจ

     Application Programming Interface (API) คือ ช่องทางการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล จาก ระบบหนึ่งไปสู่ระบบอื่นๆ โดยผ่าน library (Function/module/utility)ของผู้สร้างหรือให้บริการ API เพื่อให้ ผู้พัฒนาระบบอื่นๆ สามารถเชื่อมต่อกับ API ของผู้ที่เปิดให้บริการได้
     สำหรับนักพัฒนา API ก็คือรูปแบบคำสั่งที่นักพัฒนาจะต้องเรียกใช้เมื่อ ต้องการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ ที่มีการเปิด API ไว้ให้ การเข้าถึงข้อมูลอาจเป็นทั้งการนำข้อมูลออกมา หรือเป็น การส่งข้อมูลเข้าไปก็ได้ API จึงเป็นเสมือนภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้คุยกับคอมพิวเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ระหว่าง Server กับ Client หรือ Server กับ Server ด้วย
     ข้อดีของ API 
1. ทำให้สามารถรับส่งหรือเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข้าม Server ได้
          • ทำให้ Front-end developer สามารถเขียน AJAX ไปเรียกข้อมูลเอาไปแสดงผลได้เลย
          • การ query ข้อมูลจากฐานข้อมูลนักพัฒนารู้แค่ว่าเมื่ออยากได้ข้อมูลต้อง request ไปที่ไหนและ return อะไรมาก็สามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ไม่ต้องเขียนคำสั่ง SQL
          • นักพัฒนาฝั่ง Front-end และ Back-end จริงๆ แล้วก็สามารถทำงาน parallel กันไปได้ โดยไม่ ต้องรอกัน
2. ทำให้ผู้พัฒนาระบบสามารถพัฒนาได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
          • ทำให้ Front-end developer สามารถเขียน AJAX ไปเรียกข้อมูลเอาไปแสดงผลได้เลย
          • การ query ข้อมูลจากฐานข้อมูลนักพัฒนารู้แค่ว่าเมื่ออยากได้ข้อมูลต้อง request ไปที่ไหนและ return อะไรมาก็สามารถดึงข้อมูลจากญานข้อมูลได้ไม่ต้องเขียนคำสั่ง SQL
          • นักพัฒนาฝั่ง Front-end และ Back-end จริงๆ แล้วก็สามารถทำงาน parallel กันไปได้ โดยไม่ ต้องรอกัน
3. เสริมความปลอดภัยแก้ข้อมูลของตนเองในการแชร์ให้ผู้อื่น เพราะไม่ได้เข้าถึงฐานข้อมูลโดยตรง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การทำ Performance Testing ด้วย Postman

Performance Test คืออะไร? Performance Test คือการทดสอบซอฟต์แวร์หรือระบบ เพื่อประเมินความสามารถในการทำงานเมื่อมีภาระหรือโหลดต่างๆ เข้ามาในระบบ เช่น จำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น, ปริมาณข้อมูลที่ถูกประมวลผล หรือความซับซ้อนในการทำงานของระบบ เหตุผลที่ต้องทำ Performance Test วัดความเร็วของระบบ (Speed) ช่วยให้ทราบว่าระบบสามารถตอบสนองต่อการร้องขอ (request) ได้เร็วเพียงใดในสภาวะการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเมื่อมีผู้ใช้จำนวนน้อยหรือมาก ประเมินความเสถียร (Stability) ตรวจสอบว่าระบบสามารถทำงานได้ต่อเนื่องภายใต้การทำงานหนักหรือโหลดที่สูง เช่นในช่วงที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือในสถานการณ์ที่ต้องประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ปรับปรุงประสิทธิภาพ (Optimization) ช่วยให้ระบุจุดอ่อนของระบบ เช่น API ที่ทำงานช้า หรือการใช้ทรัพยากรมากเกินไปในบางส่วน ซึ่งสามารถปรับปรุงได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานจริง (Real-World Readiness) การทดสอบช่วยให้เราทราบถึงการตอบสนองของระบบในสภาวะที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อปล่อยระบบให้ผู้ใช้ใช้งาน จะไม่เกิดปัญหาการโหลด...

รวมชุดคำสั่ง Assembly ของ AVR

บทความนี้ได้รวบรวมชุดคำสั่งภาษา assembly ของไมโคคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR และสรุปการใช้งานเป็นภาษาไทยอย่างง่ายหากมีข้อผิดพลาด ขออภัยด้วยครับ ชุดคำสั่งทางคณิตศาสตร์และลอจิก add Rd, Rr   :   Rd + Rr เก็บผลลัพธ์ไว้ใน Rd adc Rd, Rr   :   Rd + Rr + Carry flag  เก็บผลลัพธ์ไว้ใน Rd mul Rd, Rr   :   Rd x Rr ได้ผลลัพธ์เป็น 16 bit เก็บไว้ใน R0, R1 sub Rd, Rr   :   Rd - Rr เก็บผลลัพธ์ไว้ใน Rd sbc Rd, Rr   :   Rd - Rr - Carry flag  เก็บผลลัพธ์ไว้ใน Rd and Rd, Rr   :   Rd and Rr แบบ bit ต่อ bit or Rd, Rr   :   Rd or Rr แบบ bit ต่อ bit eor Rd, Rr   :    Rd exclusive or Rr แบบ bit ต่อ bit com Rd   :   complement (กลับบิต) Rd neg Rd   :   2'complement (ติดลบ) Rd inc Rd   :   Rd++ dec Rd   :   Rd-- clr Rd   :   เคลียร์ bit Rd เป็น 0 ชุดคำสั่งเคลื่อนย้ายข้อมูล mov R...

รู้จักกับการออกแบบอินโฟกราฟิกส์ infographics design

      infographics คือการออกแบบโดยการใช้ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหวหรือสัญลักษณ์แทนข้อความหรือข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการจะสื่อความหมายถึงข้อความหรือข้อมูลนั้นโดยภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหวหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจะมีรูปแบบที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน โดยไม่ต้องมีผู้นำเสนอมาช่วยขยายความอีก       infographics มาจากคำว่า information + graphics การนำเสนอข้อมูลแบบ infographics จะนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยาก ข้อมูลที่ตัวอักษรเยอะๆ ในรูปแบบสร้างสรรค์เข้าใจได้ง่าย เช่น ภาพ ลายเส้น แผนภูมิ แผนที่ ฯลฯ สามารถสื่อข้อมูลนั้นออกมาได้อย่างชัดเจน มีองค์ประกอบที่สำคัญ        ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลแบบ infographics http://www.alychidesigns.com/30-templates-and-vector-kits-to-design-your-own-infographic กระบวกการออกแบบดีไซน์ infographics โดย Hyperakt's Josh Smith  1. รวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่จะนำเสนอโดยข้อมูลที่ดีควรเป็นข้อมูลดิบจากต้นฉบับและควรเก็บรวบรวมลิ้งค์ข้อมูลไว้ด้วย 2. การอ่านข้อมูลทั้งหมด การออกแบบอ...